การจัดการบทความในบล็อก

วิธีเขียนและจัดการบทความในบล็อก
            วิธีเขียนบทความใน Blogger เพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนสามารถเขียนบทความลงในบล็อกได้สวยงามและเป็นมืออาชีพมากขึ้น

1. การเข้าไปเขียนบทความ
      การเข้าไปเขียนบทความบน Blogger โดยตรงสามารถเข้าไปได้ 2 ช่องทางด้วยกันคือ
      1.1 ถ้าไม่สามารถใช้แม่แบบที่ไม่ได้ซ่อนแถบนำทางสามารถเข้าไปเขียนบทความได้โดยคลิกที่เมนูบทความใหม่

      
      1.2 เข้าไปเขียนบทความผ่าน draft.blogger.com ควรตั้งค่าให้ draft.blogger เป็นเครื่องมือเริ่มต้น โดยทำเครื่องหมายถูก ในส่วน กำหนดให้ บล็อกเกอร์ในแบบร่าง เป็นหน้าเริ่มต้นของฉัน
      โปรดสังเกตว่าเครื่องมือในการเขียนบทความของ draft.blogger จะมีมากกว่าเครื่องมือของ blogger ปกติ ดังนั้นโดยส่วนตัวแนะนำให้เขียนบทความผ่าน draft.blogger.com เพราะมีเครื่องมือมากกว่าวิธีแรก

2. องค์ประกอบของเครื่องมือเขียนบทความ

เครื่องมือที่จำเป็นในการเขียนบทความดังนี้ 

      ส่วนที่ 1 คือส่วนตั้งชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ 
      ส่วนที่ 2 เป็นแถบที่เลือกเมื่อต้องการเขียนข้อความปกติซึ่งจะมีเครื่องมือในการเขียนบทความตามที่เห็นในภาพข้างบน
      ส่วนที่ 3 เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกรณีที่เราต้องการวางข้อความที่คัดลอกมาจาก Ms word หรือโค้ดวีดีโอจาก Youtube หรือโค้ด HTML/จาวาสคริปต์ที่ต้องการให้ปรากฏและแสดงผลในบทความ
      ส่วนที่ 4 สำหรับจัดรูปแบบอักษร
      ส่วนที่ 5 เป็นเครื่องมือในการใส่ลิงค์ให้ข้อความ แทรกภาพลงในบทความ และแทรกวีดีโอลงในบทความตามลำดับ
      ส่วนที่ 6 รูปกระดาษขาดที่เห็นนั้นใช้ในกรณีที่คุณต้องการแสดงบทความให้ผู้อ่านเห็นในหน้าหลักเพียงบางส่วนเท่านั้น และถ้าใช้เครื่องมือนี้ผู้อ่านจะต้องคลิกอ่านเพิ่มเติมจึงจะเห็นข้อความแบบเต็ม เครื่องมือนี้มีข้อดีคือทำให้บทความที่มีความยาวมาก ๆ สั้นลงได้ และทำให้เปิดหน้าแรกได้เร็วขึ้นด้วย
      ส่วนที่ 7 เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดเรียงข้อความ และจัดแนวรูปภาพได้ด้วย เช่น จัดชิดซ้าย ชิดขวา กึ่งกลาง เป็นต้น
      ส่วนที่ 8 ได้แก่การใส่ การเน้นข้อความ การลบรูปแบบ การตรวจสอบการสะกดคำและการแปลภาษา
      ส่วนที่ 9 เป็นส่วนเผยแพร่บทความในกรณี ที่เขียนบทความเสร็จแล้ว
      ส่วนที่ 10 เป็นส่วนที่ใช้ในการบันทึกกรณีที่ยังไม่อยากเผยแพร่บทความ
      ส่วนที่ 11 ส่วนแสดงตัวอย่างของบทความ หากต้องการชมข้อความที่เราเขียนก่อนที่จะเผยแพร่
      ส่วนที่ 12 สำหรับปิดออกจากการเขียนบทความ
      ส่วนที่ 13 เป็นการใส่ป้ายกำกับ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ระบุว่าบทความที่เขียนนี้อยู่ในหมวดหมู่ใด ซึ่งสามารถใส่ได้มากกว่า 1 ป้ายกำกับโดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค และสามารถเลือกป้ายกำกับที่นักเรียนเคยใส่ให้บทความอื่นไปแล้วมาใส่อีกได้ เพื่อทำให้บทความนั้น ๆ อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ให้พิมพ์แล้ว กดปุ่มเสร็จสิ้น


      ส่วนที่ 14 เป็นส่วนที่ใช้ในการวางกำหนดเวลาล่างหน้า ว่าจะให้บทความที่เขียนเผยแพร่ในวันใด หรืออาจจะเลือกแบบอัตโนมัติ หากไม่ต้องการกำหนดเวลาล่วงหน้า

      ส่วนที่ 15 ตำแหน่งที่ตั้งเป็นตัวเลือกเสริมหากต้องการหาแผนที่ของสถานที่ที่เราต้องการใส่ โดยให้พิมพ์ชื่อที่ตั้ง แล้วกดปุ่ม Search เพื่อทำการค้นหาแผนที่ ที่สอดคล้องกับบทความ เช่นดังรูป

      ส่วนที่ 16 เป็นส่วนของการเลือกเพิ่มเติมสำหรับบทความที่เราได้เผยแพร่ไป เช่น ต้องการให้มีผู้อ่านสามารถแสดงความเห็นได้ เป็นต้น


เทคนิคการเขียนบทความที่ควรรู้
      ในกรณีที่เรามีไฟล์เอกสารจาก MS word แล้วคัดลอกมาวางเพื่อทำให้เขียนบทความได้เร็วขึ้น บางครั้งพบปัญหาข้อผิดพลาดของฟอร์ม (ฟอร์มใน MS word ไม่สามารถแปลงเป็น HTML Code ได้)
      ปัญหานี้แก้ได้โดยก่อนวางข้อความให้คลิกที่แถบ แก้ไข HTML แล้วจึงวางข้อความที่คัดลอกมา จากนั้นจึงคลิกที่แถบ เขียน เพื่อจัดรูปแบบของบทความต่อไป

      เทคนิคนี้ยังสามารถใช้กับการวางโค้ดวีดีโอ หรือข้อความที่คัดลอกมาจากเว็บไซต์ได้ด้วย



ขอบคุณภาพและข้อความจาก http://www.kruwandee.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบทดสอบ เรื่องการสร้าง Blogger

ขั้นตอนการพัฒนาโครงาน

คุณลักษณะของโครงงานที่ดีและการประเมินผล