ขั้นตอนการพัฒนาโครงาน


การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ถือเป็นกระบวนการในการทำโครงงานที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

 การคัดเลือกหัวข้อโครงงาน
            องค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่นำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์การศึกษาค้นคว้าเอกสารและแหล่งเรียนรู้ 


 
การศึกษาค้นคว้าเอกสารและแหล่งข้อมูล 
           รวมถึงขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิจะช่วยให้เกิดแนวคิดในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น และได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษา จนสามารถออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูลจะต้องตอบได้ว่า จะทำอะไร ทำไมต้องทำ ต้องการให้เกิดอะไร ทำอย่างไร ใช้ทรัพยากรอะไร ทำกับใคร และจะเสนอผลงานอย่างไร

องค์ประกอบของโครงงานคอมพิวเตอร์

      1. ชื่อโครงงาน ต้องสื่อว่าทำอะไรกับใคร เพื่ออะไร เช่น โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา, โครงงานพัฒนา เครื่องมือ
      2. ชื่อผู้จัดทำ ระบุถึงผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป้นรายกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้
      3. ครูที่ปรึกษา ระบุชื่อ- สกุล ของครูผู้ทำหน้าที่ปรึกษาควบคุมการทำโครงงานของนักเรียน
      4. ระยะเวลาดำเนินงาน ให้ระบุเวลาตั้งแต่เริ่มทำโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการบริหารจัดการเพื่อใช้วางแผนควบคุมการทำงาน
      5. แนวคิด ที่มา อธิบายถึงสาเหตุที่เลือกทำโครงงาน กล่าวถึงความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล
      6. วัตถุประสงค์ ระบุสิ่งที่ต้องการที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานในนี้เชิงกระบวนการและผลลัพธ์ที่ได้
      7. หลักการทฤษฎี อธิบายหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ที่นำมาใช้ในโครงงาน
      8. วิธีดำเนินงาน กล่าวถึงกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
      9. ขั้นตอนปฏิบัติ กล่าวถึงวันเวลาและการดำเนินกิจการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น
      10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ระบุถึงสภาพของผลที่ต้องการให้เกิด รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
      11. เอกสารอ้างอิง ระบุชื่อเอกสารข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินการ

การพัฒนาโครงงาน

      เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาโครงงานตามขั้นตอนที่วางไว้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพตามขั้นตอนดังนี้
      1. การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อม และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือบันทึกกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ การดำเนินการเป็นอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆที่พบ
      2. การลงมือพัฒนา เป็นการปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ หากพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานพัฒนาได้ดีขึ้น โดยจะระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญให้เสร็จก่อน จึงค่อยทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริม เพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันให้ตกลงรายละเอียดในการเชื่อมต่อชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย รวมทั้งต้องพัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ บันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบและครบถ้วน
      3.  การทดสอบผลงานและแก้ไข เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้น ทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ
       4.  การอภิปรายและข้อเสนอแนะ เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดครอบคลุมหัวข้อโครงงาน เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงานและทำการอภิปรายผล เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงาน ที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้
        5. แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้วนักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญหรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะ สำหรับผู้ที่สนใจจะนำไปพัฒนาผลงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การเขีนนรายงานโครงงาน
      1. ชื่อโครงงาน
      2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อที่จะใช้กับโครงงานนั้น
      3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจะให้โครงงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
      4. คุณลักษณะของโครงงาน ซึ่งอธิบายว่าผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้างรับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและอะไรที่ออกมาเป็นข้อมูลขาออก
      5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชั่น อธิบายว่าต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชั่นหนึ่งๆ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบทดสอบ เรื่องการสร้าง Blogger

คุณลักษณะของโครงงานที่ดีและการประเมินผล